วันพฤหัสบดีที่ 6 มกราคม พ.ศ. 2554

แอสกี หรือ รหัสมาตรฐานของสหรัฐอเมริกาเพื่อการแลกเปลี่ยนสารสนเทศ (อังกฤษ: ASCII: American Standard Code for Information Interchange)เป็นรหัสอักขระที่ประกอบด้วยอักษรละติน เลขอารบิก เครื่องหมายวรรคตอน และสัญลักษณ์ต่างๆ โดยแต่ละรหัสจะแทนด้วยตัวอักขระหนึ่งตัว เช่น รหัส 65 (เลขฐานสิบ) ใช้แทนอักษรเอ (A) พิมพ์ใหญ่ เป็นต้น

ประวัติ
             รหัสแอสกีมีใช้ในระบบคอมพิวเตอร์ และเครื่องมือสื่อสารแบบดิจิทัลต่างๆ พัฒนาขึ้นโดยคณะกรรมการ X3 ซึ่งอยู่ภายใต้การดูแลของสมาคมมาตรฐานอเมริกา (American Standards Association) ภายหลังกลายเป็น สถาบันมาตรฐานแห่งชาติอเมริกา (American National Standard Institute : ANSI) ในปี ค.ศ. 1969 โดยเริ่มต้นใช้ครั้งแรกในปี ค.ศ. 1967  ซึ่งมีอักขระทั้งหมด 128 ตัว (7 บิต) โดยจะมี 33 ตัวที่ไม่แสดงผล (unprintable/control character)ซึ่งใช้สำหรับควบคุมการทำงานของคอมพิวเตอร์บางประการ เช่น การขึ้นย่อหน้าใหม่สำหรับการพิมพ์ (CR & LF - carriage return and line feed) การสิ้นสุดการประมวลผลข้อมูลตัวอักษร (EOT - end of text)เป็นต้น และ อีก 95 ตัวที่แสดงผลได้ (printable character)  ดังที่ปรากฏตามผังอักขระ (character map) ด้านล่าง

                 รหัสแอสกีได้รับการปรับปรุงล่าสุดเมื่อ ค.ศ. 1986 ให้มีอักขระทั้งหมด 256 ตัว (8 บิต) สำหรับแสดงอักขระเพิ่มเติมในภาษาของแต่ละท้องถิ่นที่ใช้ เช่น ภาษาเยอรมัน ภาษารัสเซีย ฯลฯ โดยจะมีผังอักขระที่แตกต่างกันไปในแต่ละภาษาซึ่งเรียกว่า โคดเพจ (codepage) โดยอักขระ 128  ตัวแรกส่วนใหญ่จะยังคงเหมือนกันแทบทุกโคดเพจ มีส่วนน้อยที่เปลี่ยนแค่บางอักขระ

ASCII
เดิม การแทนรหัสฐานสองด้วยพยัญชนะในภาษา ต่างๆเป็นการกำหนดกันเอง ขึ้นอยู่กับว่าใครพัฒนาขึ้นมาทำให้การส่งผ่านข้อมูลระหว่างเครื่อง คอมพิวเตอร์ต่างชนิดไม่ สามารถส่งผ่านกัน ได้เพราะใช้รหัสในเลขฐานสองไม่เหมือนกัน ดังนั้นเพื่อที่จะให้สื่อสารกันได้ จึงจำเป็นต้องมีการ กำหนดมาตรฐานของรหัสขึ้น สำหรับภาษาอังกฤษ เรียกว่า รหัสแอสกี้ (American Standard Code Interchange,ASCII)


รหัสที่เป็นมาตรฐาน คือ รหัส ASCII
               American Standard Code For Information Interchange (ASCII) อ่านว่า แอส-กี้ เป็นรหัสที่พัฒนาขึ้นโดยสถาบันมาตรฐานแห่งชาติสหรัฐอเมริกา (American National Standard Institute: ANSIอ่านว่า แอน-ซาย) เรียกว่า ASCII Code ซึ่งเป็นที่นิยมในกลุ่มผู้สร้างเครื่องคอมพิวเตอร์ทั่วไป รหัสนี้ได้มาจากรหัสขององค์กรมาตรฐานระหว่างประเทศ (International Standardization Organization: ISO)ขนาด 7 บิท ซึ่งสามารถสร้างรหัสที่แตกต่างกันได้ถึง 128 รหัส (ตั้งแต่ 000 0000 ถึง 111 1111)โดยกำหนดให้ 32 รหัสแรกเป็น 000 0000 ถึง 001 1111 ทำหน้าที่เป็นสั่งควบคุม เช่น รหัส 000 1010 แทนการเลื่อนบรรทัด (Line Feed)ในเครื่องพิมพ์ เป็นต้น และอีก 96 รหัสถัดไป (32-95) ใช้แทนอักษรและสัญลักษณ์พิเศษอื่นรหัส ASCII ใช้วิธีการกำหนดการแทนรหัสเป็นเลขฐานสิบ ทำให้ง่ายต่อการจำและใช้งาน นอกจากนั้นยังสามารถเขียนมนรูปของเลขฐานสิบหกได้ด้วย ดังนั้น ASCII Code จึงเป็นรหัสที่เขียนได้ 3 แบบ เช่นอักษร A สามารถแทนเป็นรหัสได้ดังนี้

สัญลักษณ์
เลขฐานสิบ
เลขฐานสอง
เลขฐานสิบหก
A
65
100 0001
4 1

รหัส ASCII สามารถใช้แทนข้อมูลอักขระและคำสั่งได้มากขึ้น และมีการขยายเป็นรหัสแบบ 8 บิท 
 
ตาราง ascii



แหล่งอ้างอิง:

http://th.wikipedia.org/wiki/